มงคลที่ ๑๕ บำเพ็ญทาน - มหาทาน คือ เสบียงสู่ความหลุดพ้น
วันหนึ่งพระเจ้าเภรุวมหาราชทอดพระเนตรโรงทานของพระองค์ ทรงดำริว่า ปฏิคาหก ผู้รับทานของเรานี้ ล้วนเป็นผู้ทุศีล บริโภคทานแล้วไม่ทำให้จิตใจของทายกยินดีเลย ทำอย่างไรหนอเราจึงจะได้เนื้อนาบุญ เราปรารถนาจะถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้า
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - จิตสะอาดปราศจากธุลี
วันนั้นเป็นคืนเดือนหงาย พระสารีบุตรท่านเพิ่งปลงผมใหม่ๆ ก็นั่งทำสมาธิอยู่กลางแจ้ง เผอิญมียักษ์สองตนเหาะผ่านมา ยักษ์ตนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิ ส่วนอีกตนหนึ่งเป็นสัมมาทิฏฐิ พอเห็นพระสารีบุตรนั่งอยู่อย่างนั้น ยักษ์มิจฉาทิฏฐิซึ่งในอดีตเคยผูกอาฆาตพระสารีบุตรไว้ จึงบอกกับเพื่อนยักษ์ว่า "นี่เพื่อน เราจะทุบศีรษะของสมณะองค์นี้นะ"
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - ธรรมรักษาผู้ประพฤติธรรม
พระอุปัชฌาย์จึงเข้าฌานสมาบัติ อธิษฐานให้แผ่นดินแยกออกจากกัน แล้วนำไฟจากอเวจีมหานรกมาเพียงเล็กน้อย แค่เท่าแสงหิ่งห้อย มาใส่ที่กองไม้นั้น เพียงชั่วพริบตา กองไม้สดนั้นก็มอดไหม้หมด เหมือนจุดไฟเผาใบไม้แห้ง ฉะนั้น
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - ปล่อยวางหมด ก็หมดทุกข์
ชายหนุ่มเจ้าชู้คนหนึ่งได้แลเห็นพระเถรี ผู้กำลังเดินผ่านไปยังชีวกัมพวันวิหารอันน่ารื่นรมย์ ได้ถูกกามราคะครอบงำ คือ มีจิตปฏิพัทธ์ในพระเถรีขึ้นมา ได้ออกไปยืนขวางทางแล้วกล่าวคำเชื้อเชิญให้พระเถรียินดีในกามารมณ์ อนาคามีเถรีผู้ไม่มีจิตยินดีในกามารมณ์ เห็นอย่างนั้น ก็กล่าวว่า "เราทำผิดอะไร ท่านถึงมายืนขวางทางเรา ท่านเป็นคนไม่บริสุทธิ์ ไม่ควรถูกต้องหญิงนักบวชเช่นเราผู้บริสุทธิ์ด้วยสิกขา ที่พระสุคตเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว
มงคลที่ ๓ บูชาบุคคลที่ควรบูชา - ใจที่เลื่อมใสปิดอบายภูมิ
ในยุคนั้น พระสุสัญญกเถระบังเกิดในตระกูลมีชื่อเสียงตระกูลหนึ่ง เมื่อเจริญวัยขึ้นได้ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ที่ตรัสให้เห็นภัยในวัฏสงสาร และอานิสงส์ของการทำใจให้เลื่อมใส ท่านเกิดศรัทธาอย่างยิ่งจึงคิดว่า เวลาชีวิตของมนุษย์นี้ ประเดี๋ยว ก็วันประเดี๋ยวก็คืน ควรที่เราจะรู้จักจับแง่คิดในการเอาบุญ รู้จักระวังไม่ให้อกุศลบังเกิดขึ้นในใจ ตั้งแต่นั้นมา ท่านตั้งใจสำรวมระวังตลอดเวลา ไม่ให้อกุศลทั้งหลายเข้ามาในใจของตน
มงคลที่ ๗ เป็นพหูสูต - ปัญญาพาพ้นภัย (๒)
เนื่องจากความคุ้นเคยกันมากเกินไป พระเทวีได้ประพฤติ นอกใจพระราชา โดยประพฤติมิจฉาจารกับทาสของตนเอง เมื่อพระนางทำผิดแล้ว เกรงว่าพระสวามีจะจับได้ จึงแนะนำให้ทาสปลงพระชนม์พระราชา
ประวัติความเป็นมาของวันมหาปวารณา
กำเนิดวันมหาปวารณา ประวัติความเป็นมาของการทำปวารณาในวันออกพรรษาเกิดขึ้นเมื่อไร ต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง
ทำไมจึงฉันมื้อเดียว
การฉันอาหารมื้อเดียว จะมีอาพาธน้อย ลำบากกายน้อย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุข
มงคลที่ ๒๑ ไม่ประมาทในธรรม - แม้เป็นเทวดาก็อย่าประมาท
วลาในโลกนี้แสนสั้น เดี๋ยววันเดี๋ยวคืน ยังไม่ทันได้สั่งสมบุญให้เต็มอิ่ม ความชราก็เข้ามาเยือนแล้ว บางคนเกิดมายังไม่ทันได้สั่งสมบุญ กรรมในอดีตก็มาตัดรอนเสียก่อน ทำให้มีเหตุที่ต้องละสังขารไปก่อนถึงเวลาอันควร ดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาทในชีวิต ให้เห็นคุณค่าของเวลาแต่ละนาทีที่ผ่านไป โดยมีสติเตือนตนเสมอว่า เราจะไม่ประมาท โดยเฉพาะไม่ประมาทในการประพฤติธรรม
มงคลที่ 37 - จิตปราศจากธุลี - รักษาใจให้เข้าถึงธรรม
ตั้งแต่บวชมา อาตมามีความสุขในเพศสมณะตลอดทั้งวันทั้งคืน จิตใจโปร่งโล่งเบาสบาย ไม่มีความกังวลใดๆเลย และทำความเพียรตลอดเจ็ดวัน พอถึงวันที่แปดจึงได้สำเร็จกิจอันสูงสุดในพระพุทธศาสนา อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยยินดีในลาภสักการะสรรเสริญ ไม่เคยมีอาพาธเลยแม้แต่น้อย จึงไม่ต้องแสวงหายามารักษาสรีรยนต์นี้